เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในวิถีชีวิตของผู้สูงอายุในยุคปัจจุบัน เนื่องมาจาก ในสมัยนี้ ผู้สูงอายุจำนวนมากมีปัญหาเกี่ยวกับการฟัง

โดยปัจจุบันไม่มียารักษาภาวะเสื่อมตามวัยของระบบประสาทหูปัญหาการได้ยินที่เกิดจากความ เสื่อมของหูชั้นใน เส้นประสาทหู และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทรับเสียงเสื่อมตามวัยมักจะรักษาไม่หายขาดซึ่งการรักษาปัญหาการได้ยินในผู้สูงอายุนั้น จะรักษาตามสาเหตุ หรือการใส่เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยเยียวยาได้ดีทีเดียว

ถ้าปัญหาการได้ยินของผู้สูงอายุเกิดจากประสาทรับเสียงเสื่อมควรหาสาเหตุหรือปัจจัยที่จะทำให้ประสาทรับเสียงเสื่อมเร็วกว่าผิดปกติ เพื่อหาทางชะลอความเสื่อมและป้องกันไม่ให้ประสาทรับเสียงเสื่อมมากขึ้น เช่น หลีกเลี่ยงเสียงดัง หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู ลดอาหารเค็ม หรือใส่เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ หรือในบางกรณีเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และพยายามควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันเลือดสูง เบาหวาน โรคไต ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

ในกรณีที่อาการหูตึงในผู้สูงวัยมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาให้ใส่เเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยทำหน้าที่เสมือนเครื่องขยายเสียงให้ดังขึ้น โดยใส่ไว้ในช่องหูสามารถถอดเก็บได้ในกรณีหูตึงขั้นรุนแรงหรือหูหนวกแพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม ในกระดูกก้นหอยที่อยู่ในบริเวณหูชั้นใน

อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการได้ยินไม่ว่าจะเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย หรือ มีสาเหตุจากโรคที่อันตราย เช่น เนื้องอกของสมอง หรือเส้นประสาท ซึ่งปัญหาการได้ยินดังกล่าว อาจหายได้หรืออยู่กับผู้ป่วยตลอดชีวิตก็ได้ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คระดับการได้ยิน เพื่อหาสาเหตุและการป้องกัน ดูแลไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น

การใช้เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญมากๆ ในการดำรงชีวิต ทั้งดีต่อสุขภาพกายและส่งผลต่อสุขภาวะจิตที่ดีอีกด้วย

เครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายรูปแบบให้คุณเลือกใช้งาน ซึ่งแต่ละแบบก็มีรูปลักษณ์ภายนอกรวมถึงความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันของผู้สูงอายุแต่ละคนโดยหลัก ๆ แล้วสามารถแบ่งรูปแบบได้ ดังต่อไปนี้

1.เครื่องช่วยฟัง BTE หรือ Behind The Ear เป็นเครื่องช่วยฟังที่ออกแบบให้ตัวเครื่องทัดอยู่ด้านหลังใบหู 

2.เครื่องช่วยฟัง ITE หรือ In The Ear เป็นเครื่องช่วยฟังแบบใส่ช่องหูที่มีขนาดใหญ่ ถูกออกแบบให้มีขนาดพอดีกับช่องหูของผู้สูงอายุ

3.เครื่องช่วยฟัง CIC หรือ Completely-in-the-Canal เป็นเครื่องช่วยฟังแบบใส่ในช่องหูเหมือน ITE ทว่ามีขนาดเล็กกว่า เน้นการปกปิดเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการให้คนอื่นเห็นขณะใส่ 

4.เครื่องช่วยฟัง RIC หรือ Receiver-in-Canal เป็นเครื่องช่วยฟังที่มีลักษณะคล้องหลังหูเหมือน BTE แต่มีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่าพกพาง่ายและติดตัว กันผู้สูงอายุท่านใดที่ถอดลืมไว้ได้ด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากการเลือกประเภทของเครื่องช่วยฟังผู้สูงอายุที่อิงจากวิถีชีวิตของผู้สูง อายุแต่ละคนแล้ว ยังต้องได้รับคำแนะนำที่แม่นยำและถูกต้องจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย เพื่อเหมาะสมกับอาการทางการได้ยินที่แตกต่างกันออกไปของผู้สูงอายุแต่ละท่าน